โรคสมาธิสั้นในเด็ก อย่าปล่อยไว้ ให้รีบรักษา!

โรคสมาธิสั้นเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่รู้จักกันดีในหมู่ของจิตแพทย์เด็กและหมอพัฒนาการ เพราะจากสถิติพบว่ามีเด็กๆ ที่เป็นโรคสมาธิสั้น มากถึง 5-10% หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือว่าในนักเรียน 1 ห้อง จะมีเด็กสมาธิสั้นอยู่ 1 คน และพบเจอในเด็กผู้ชายมากกว่าในเด็กผู้หญิงมากถึง 4 เท่า เรามาเจาะลึกเกี่ยวกับอาการสมาธิสั้นในเด็กกันครับ

เจาะลึกถึงจุดเริ่มต้นของเด็กที่มีอาการเด็กสมาธิสั้น
ในทางการแพทย์ได้มีคำอธิบายโรคสมาธิสั้น ไว้ว่า เป็นโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองส่วน Prefrontal cortex ที่ทำหน้าที่เหมือนหอบังคับการที่ควบคุมพฤติกรรม สมาธิ ความตั้งใจ การวางแผน ความยับยั้งชั่งใจ การคิดและการตัดสินใจ ซึ่งเมื่อเกิดความผิดปกติของสารเคมีในส่วนนี้แล้วละก็จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เด็กจะซนเกินไป ขาดสมาธิ หุนหันพลันแล่น วอกแวกง่าย ขี้ลืม จนก่อให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมาได้ถ้าไม่รีบรักษา

ปัจจัยร่วมที่อาจจะเกี่ยวข้อง
นอกจากจะมีความผิดปกติของสารเคมีในสมองแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้นได้อีก เช่น ทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สารตะกั่ว หรือพฤติกรรมของแม่ที่สูบบุหรี่ในขณะที่ตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด รวมไปถึงภาวะการแทรกซ้อนอื่นๆ ของการตั้งครรภ์และการคลอด

อาการที่สังเกตได้ถ้าเด็กเป็นเด็กสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นนี้อาจจะไม่ได้มีอาการเจ็บปวดเหมือนโรคอื่นๆ โดยทั่วไป แต่จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรมมากกว่าโดยจะมีที่เด่นๆ อยู่ 3 อย่างก็คือ ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity) ขาดสมาธิ ไม่จดจ่อ (Inattention) ซึ่งในการวินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (DSM-IV-TR) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นหรือหุนหันพลันแล่น จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และไม่สอดคล้องกับพัฒนาการ

หากพบว่าลูกของท่านเป็นเด็กสมาธิสั้นไม่ต้องกังวลใจเพราะสมัยนี้มีวิธีมากมายในการแก้ไขอาการสมาธิสั้นได้ ลองส่งมาเข้าคอร์สฝึกสมาธิสั้นสถาบัน BrainFit Studio เพราะมีทีมผู้สอนที่มีความเข้าใจอาการสมาธิสั้นโดยเฉพาะ โรคสมาธิสั้นของลูกคุณจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด