ผลข้างเคียงและความเสี่ยงในการอุดฟัน

 

วัสดุที่นำมาใช้ในการอุดฟันมีหลายประเภท เช่น ทอง อมัลกัม หรือวัสดุอุดฟันทำจากโลหะปรอท เงิน ทองแดง และสังกะสี คอมโพสิตเรซิ่น หรือการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ซึ่งการเลือกใช้วัสดุใดนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

 

ผลข้างเคียงและความเสี่ยงในการอุดฟัน

การอุดฟันแทบจะไม่มีความเสี่ยงใด ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ทันตแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะตามใบสั่งแพทย์ก่อนจะเริ่มขั้นตอนการอุดฟัน เนื่องจากบางขั้นตอนสามารถทำให้แบคทีเรียในช่องปากเข้าสู่กระแสเลือดได้และทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ เข่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ซึ่งการให้ยาปฏิชีวนะก่อนขั้นตอนการรักษาจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยเฉพาะที่ลิ้นหัวใจได้

 

ปรอทจากการอุดฟันอันตราย?

โลหะปรอทในอะมัลกัมอาจเข้าสู่ร่างกายได้ในขั้นตอนการอุดฟัน  ระหว่างการอุดฟันหรือรื้อวัสดุอุด พบว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแต่อย่างใด โลหะปรอทไม่ได้คงอยู่ในร่างกายอย่างถาวร แต่จะถูกขับออกจากร่างกายและเหลือปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งในระยะเวลา 55 วัน

 

ปรอทจากการอุดฟัน มีส่วนกับปัญหาสุขภาพหรือไม่?

โลหะปรอทที่ใช่ในการอุดฟัน ปัญหาสุขภาพเรื้อรังมากมายที่หาสาเหตุไม่พบ น่าจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสารปรอทที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ทุกวัน จากวัสดุที่อุดฟัน เช่น ภาวะภูมิแพ้ที่หาสเหตุไม่เจอ ซึ่งน่าจะพบได้บ่อยสุด ส่วนปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคหอบ หืด โรคภูมิแพ้ตัวเอง ก็เป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากสารปรอทที่อยู่ในฟันเรามานาน เพราะเมื่อไปเกาะติดกับเม็ดเลือดจะทำให้ภาวะภูมิต้านทานลดลง จนแม้กระทั่งตัวเองก็ยังแพ้ ทำงานแปรปรวนกันไปหมด

 

สำหรับใครที่มีปัญหาฟันผุ ไม่รู้จะอุดฟันด้วยวัสดุไหนดี หรือถ้าฟันผุ สามารถเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ได้ฟรี ที่ ศูนย์ทันตกรรม PMDC หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอุดฟันได้ที่ https://goo.gl/YuPEuy